• อาคารแววเที่ยงธรรม

  • Back

ข้อมูลอาคาร พื้นที่ใช้สอย 6,140.00 ตร.ม. ลักษณะอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 4 ชั้น  เริ่มก่อสร้าง ปี พ.ศ. 2553  ในปี พ.ศ. 2550 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน

ประวัติอาคาร ในการก่อสร้างอาคารเรียนรวม และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร อาคารเรียนรวม เป็นอาคารที่สร้างขึ้นโดยใช้รูปแบบของอาคารที่ศูนย์ตรังบวกกับโรงเรียนการเรือนที่อยู่ศูนย์วิทยาศาสตร์ถนนศิรินธร เชื่อมกันโดยมีบันไดวน ชื่ออาคารมาจากอาจารย์ที่ดูแลการก่อสร้าง คือ อาจารย์เชิดชาย แววเที่ยงธรรม ซึ่งเป็นอดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ปัจจุบันเรียกว่า “อาคารแววเที่ยงธรรม” โดยมีห้องต่างๆ เพื่อให้นักศึกษา หลักสูตรคหกรรมศาสตร์ หลักสูตรเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ และหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ได้ใช้เรียนปฏิบัติในรายวิชาต่างๆ โดยแต่ละชั้นประกอบด้วยห้องต่าง ๆ ดังนี้

ชั้นที่ 1 ประกอบไปด้วย
ห้องปฏิบัติการผ้า สำหรับนักศึกษาหลักสูตรคหกรรมศาสตร์และหลักสูตรอื่น ๆ เข้าเรียนในภาคปฏิบัติการผ้า ในห้องนี้มีเครื่องมือสำหรับงานตัดเย็บผ้า และงานประดิษฐ์จากผ้าได้อย่างครบครัน ซึ่งพร้อมสำหรับการจัดการเรียนการสอน และการบริการวิชาการ

ห้องปฏิบัติการศิลปประดิษฐ์ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรคหกรรมศาสตร์และหลักสูตรอื่น ๆ เข้าเรียนในภาคปฏิบัติ ซึ่งในห้องนี้มีการทำเครื่องหอม การทำเครื่องแขวน งานจัดดอกไม้ งานใบตอง เป็นต้น รวมทั้งสามารถใช้ห้องนี้ในการจัดการอบรมและบริการวิชาการ ทั้งรูปแบบออนไลน์ และออนไซต์

ชั้นที่ 2 ประกอบไปด้วย

ห้องปฏิบัติการผลิตเครื่องสำอางหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ได้เริ่มศึกษาและดำเนินการขออนุมัติงบประมาณในปี 2560 ออกแบบและปรับปรุงช่วงปลายปี 2561 และดำเนินการจัดทำห้องปฏิบัติการผลิตเครื่องสำอางเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้และฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและกระบวนการที่ดีในการผลิต โดยภายในประกอบด้วยห้องต่าง ๆ ได้แก่ ห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย ห้องคลังสินค้า ห้องชั่งวัตถุดิบ ห้องควบคุมคุณภาพ ห้องล้างอุปกรณ์ ห้องผลิต ห้องเก็บผลิตภัณฑ์รอการบรรจุ ห้องบรรจุ และห้องพิมพ์ฉลาก ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษา บุคคลภายนอก และผู้ประกอบการผลิตเครื่องสำอาง ได้เข้ามาศึกษา เพื่อเป็นการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากชุมชนทั้งภายในจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดข้างเคียง โดยได้รับหนังสือรับรองมาตรฐานวิธีที่ดีในการผลิต จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 และได้รับการต่อสัญญาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2566


ชั้นที่ 3 ประกอบไปด้วย ห้องเรียนจำนวน 6 ห้อง และห้องศูนย์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน

 

ชั้นที่ 4 ประกอบไปด้วย ห้องปฏิบัติการอาหารนานาชาติเป็นห้องปฏิบัติการทางด้านอาหารที่ทันสมัยและครบครัน สำหรับนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ และคหกรรมศาสตร์ เป็นห้องฝากปฏิบัติการอาหารทั้งอาหารคาว หวาน และเบเกอร์รี่ อีกทั้งการให้บริการวิชาการการฝึกอบรม การเป็นสถานที่จัดการแข่งขันในระดับต่าง ๆ ฯลฯ